สมัญญาภิธาน

  สมัญญาภิธาน

แสดงชื่ออักษรที่เป็นสระที่เป็นสระและพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์
๑.
เนื้อความของถ้อยคำทั้งปวง ต้องกำหนดรู้ได้ด้วยอักขระ เมื่อเข้าใจเรื่องอักขระไม่ดี ก็เข้าใจเนื้อความที่ถูกต้องได้ยาก
๒.
เสียง (คำพูด) ก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่า อักขระๆ แปลว่า ไม่รู้จักสิ้นไปอย่างหนึ่ง ไม่เป็นของแข็งอย่างหนึ่ง
๓.
อักขระในภาษาบาลี มี ๔๑ ตัว แบ่งเป็นสระ ๘ ตัว พยัญชนะ ๓๓ ตัว คือ
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ,
      ก ข ค ฆ ง,
      จ ฉ ช ฌ ,
      ฏ  ฑ ฒ ณ,
      ต ถ ท ธ น,
      ป ผ พ ภ ม,
      ย ร ล ว ส ห ฬ อํ


สระ ๘ ตัว
๑.
อักขระเบื้องต้น ตั้งแต่ อ จนถึง โอ ชื่อว่า สระ ออกเสียงได้ตามลำพังตนเอง และทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ด้วย
๒.
สระ ๘ ตัวนี้ เรียกว่า นิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ บรรดาพยัญชนะ ทั้ง ๓๓ ตัว ต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้
๓.
สระ ๓ ตัว คือ อ อิ อุ ชื่อว่า รัสสะ เพราะออกเสียงเร็ว/สั้น เหมือนคำว่า อติ ครุ เป็นต้น
๔.
สระ ๕ ตัว คือ อา อี อู เอ โอ ชื่อว่า ทีฆะ เพราะออกเสียงช้า/ยาว เหมือนคำว่า ภาคี วธู เสโข เป็นต้น
๕.
เอ โอ ถ้ามีพยัญชนะสังโยคอยู่หลัง เช่น เสยฺโย,โสตฺถิ เป็นต้น ท่านกล่าวว่า เอ โอ นั้นออกเสียงเหมือนเป็นรัสสะ
๖.
สระต่อไปนี้ ชื่อว่า ครุ ออกเสียงหนัก คือ

๑)
สระที่เป็นทีฆะล้วนๆ เช่น ภูปาลี, เอสี

๒)
สระรัสสะแต่มีพยัญชนะสังโยคอยู่หลัง เช่น มนุสฺสินฺโท

๓)
สระรัสสะมีนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง เช่น โกเสยฺยํ

๔)
สระรัสสะอยู่ท้ายบาทคาถา เช่น ยนฺทุนฺนิมิตฺตํ อวมงฺคลญฺจ
๗.
สระต่อไปนี้ ชื่อว่า ลหุ ออกเสียงเบา คือ สระที่เป็นรัสสะล้วนๆ ไม่มีพยัญชนะสังโยคหรือไม่มีนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง เช่น ปติ มุนิ ชื่อว่า ลหุ
๘.
สระจัดเป็นวัณณะ เรียกว่า สวัณณะ คือ จัดเป็นคู่กันได้ ๓ คู่ คือ
อ       อา      เรียกว่า       อ วัณโณ
อิ       อี        เรียกว่า      อิ วัณโณ
อุ       อู        เรียกว่า      อุ วัณโณ
๙.
เอ และ โอ ๒ ตัวนี้เรียกว่า อสวัณณะ ไม่เป็นคู่กับสระใดๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สังยุตตสระ เกิดมาจากสระผสมกัน คือ
อ       กับ       อิ       ผสมกันเป็น       เอ
อ       กับ       อุ       ผสมกันเป็น       โอ

พยัญชนะ ๓๓ ตัว

๑.
อักขระอันเหลือจากสระ มี ๓๓ ตัวมี ก เป็นต้น มี อํ (นิคคหิต) เป็นที่สุด ชื่อว่า พยัญชนะ
๒.
พยัญชนะแปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฎ เช่น โอ เมื่อผสมกับ กฺ เป็น โก มีความหมายว่า ใคร,อะไร ฯลฯ
๓.
พยัญชนะมีชื่อว่า นิสสิต เพราะพยัญชนะออกเสียงตามลำพังเหมือนสระไม่ได้ ต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้
๔.
ดังนั้น การเขียนพยัญชนะแบบไม่มีสระเป็นที่อาศัย จึงมี . (จุด) อยู่ข้างล่าง เช่น กฺ ขฺ คฺ ฆฺ งฺ ฯลฯ
๕.
การเขียนพยัญชนะที่มีสระเป็นที่อาศัย จะไม่เห็น . (จุด) อยู่ข้างล่าง เช่น ก กา กิ กี กุ กู เก โก ฯลฯ
๖.
พยัญชนะจัดเป็น ๒ พวก คือ วรรค ๑ , อวรรค ๑
๗.
พยัญชนะวรรคจัดเป็น ๕ วรรคๆ ละ ๕ ตัว จึงมี ๒๕ ตัว คือพยัญชนะวรรคจัดเป็น ๕ วรรคๆ ละ ๕ ตัว จึงมี ๒๕ ตัว คือ
ก       ข       ค       ฆ       ง       เรียกว่า  ก  วรรค
จ       ฉ       ช       ฌ             เรียกว่า  จ  วรรค
ฏ              ฑ      ฒ       ณ      เรียกว่า  ฏ  วรรค
ต       ถ       ท       ธ       น       เรียกว่า  ต  วรรค
ป       ผ       พ       ภ       ม       เรียกว่า  ป  วรรค
พยัญชนะเหล่านี้ เรียกว่า พยัญชนะวรรค เพราะเกิดเป็นหมู่เป็นพวกในฐานเกิดที่เดียวกัน
๘.
พยัญชนะอวรรค ๘ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ เรียกว่า พยัญชนะอวรรค เพราะเกิดไม่เป็นหมู่เป็นพวกในฐานเกิดเดียวกัน
๙.
พยัญชนะ คือ อํ เรียกว่า นิคคหิต แปลว่า กดสระ คือเวลาอ่านจะออกเสียงทางจมูก ไม่ให้อ้าปากกว้างตามปกติ
๑๐.
พยัญชนะ คือ อํ ตามสาสนโวหาร เรียกว่า อนุสาร คือไปตามสระ คือ นิคคหิต นี้ ต้องไปตามหลังสระรัสสะ คือ อ อิ อุ เท่านั้น เช่น อหํ เสตุ ํ อกาสึ ฯ
ฐาน ๖
     ฐาน แปลว่า ที่ตั้งที่เกิดของอักขระ มี ๖ ฐาน คือ
๑)
กณฺโ คอ
๒)
ตาลุ เพดาน
๓)
มุทฺธา ศีรษะ หรือ ปุ่มเหงือก
๔)
ทนฺโต ฟัน
๕)
โอฏฺโ ริมฝีปาก
๖)
นาสิกํ จมูก

๑. การแบ่งอักษรตามฐานเกิด
    บุรพาจารย์ผู้บัญญัติไวยากรณ์บาลีได้จัดฐานเกิดของอักษรไว้ ๖ ฐานตามลำดับลมหายใจออกคือ คอ เพดาน ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก และจมูก ดังนั้น การเรียงอักษรที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไวยากรณ์ทั้งหลาย เริ่มตั้งแต่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ (สระ ๘ ตัว)  และ ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ , ฏ  ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ.  (พยัญชนะ ๓๓ ตัว )  การเรียงลำดับอย่างนี้ ท่านเรียงตามลำดับฐานเกิดเช่นเดียวกัน
๑.สระตามฐานเกิด
       คือ อ อา เกิดจากฐานที่ ๑ อิ อี เกิดจากฐานที่ ๒ อุ อู เกิดจากฐานที่ ๕  (ข้ามลำดับที่ ๓, ๔ ซึ่งไม่ใช่ฐานเกิดของสระ) เพียงหลับตานึกมโนภาพฐานเกิดของสระ ตั้งแต่ฐานที่ ๑ ขึ้นมาตามลำดับ ก็จะจำฐานเกิดของสระได้โดยง่าย
      ส่วน เอ โอ เป็นประเภทสังยุตตสระ สระเสียงสั้นประกอบกัน คือ
อ่าน     อ     กับ     อิ      ผสมกันจะเป็นเสียง     เอ
อ่าน     อ     กับ     อุ      ผสมกันจะเป็นเสียง     โอ
        ดังนั้นจึงเรียงไว้ว่า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ตามลำดับฐานเกิด
           อ อา เกิดจากคอ จึงมาก่อน อิ อี, อิ อี เกิดจากเพดาน จึงมาก่อน อุ อู, อุ อู เกิดจากริมฝีปาก จึงมาก่อน เอ โอ ซึ่งเป็นสระเกิดจาก ๒ ฐาน
กรณ์
กรณ์ คือ อวัยวะสำหรับทำเสียง โดยให้กรณ์กระทบกับฐาน กรณ์มี ๔ คือ
๑) ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น
๒) ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา
๓) ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น
๔) สกฏฺานํ เอาฐานเกิดของตนเป็นกรณ์
     ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้นเป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นตาลุชะ, ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นมุทธชะ, ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นทันตชะ, สกฏฺานํ ฐานของตนเป็นกรณ์ของอักขระที่เหลือ

ตารางสรุปฐานกรณ์ (ไม่ต้องท่อง)
แสดงฐานกรณ์ของอักขระ (ต้องดูให้เข้าใจจะจำได้ดี)
อักขระเกิดในฐานเดียว
อักขระ
ฐาน
กรณ์
อ อา, ก ข ค ฆ ง ห
     กณฺ / คอ           กณฺ (สกฏฺาน)
อิ อี, จ ฉ ช ฌ  ย
     ตาลุ / เพดาน           ชิวฺหามชฺฌ
ฏ  ฑ ฒ ณ ร ฬ
     มุทฺธ / ปุ่มเหงือก           ชิวฺโหปคฺค
ต ถ ท ธ น ล ส
     ทนฺต / ฟัน           ชิวฺหคฺค
อุ อู, ป ผ พ ภ ม
     โอฏฺ / ริมฝีปาก           โอฏฺ (สกฏฺาน)
อํ
     นาสิก / จมูก           นาสิก (สกฏฺาน)
อักขระเกิดในสองฐาน
อักขระ
ฐาน
กรณ์
เอ
         กณฺ + ตาลุ          กณฺ + ชิวฺหามชฺฌ
โอ
         กณฺ + โอฏฺ          กณฺ + โอฏฺ
         ทนฺต + โอฏฺ          ชิวฺหคฺค + โอฏฺ
ง  ณ น ม
         สกฏฺาน + นาสิก          สกฏฺาน + นาสิก



















ขอขอบคุณ http://mediacenter.mcu.ac.th/pali/1-1.htm
เพื่อการศึกษาพระบาลี